รายงานข่าวแจ้งว่า
นายปัญญา จารุศิริ
หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดเผยว่า
ได้พบรอยเลื่อนใหม่
คือ รอยเลื่อนนครนายก
ซึ่งมีความน่ากลัวและอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ
นายปัญญา จารุศิริ หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวถึงการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รอยเลื่อนปัว อ.เวียงสา จ.น่าน ขนาด
4 ริคเตอร์ รอยเลื่อนแม่จัน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ขนาด 3
ริคเตอร์และรอยเลื่อนแม่จัน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ขนาด 3.4
ริคเตอร์ ว่า ขณะนี้ประเทศไทยควรจับตารอยเลื่อนแม่จัน
ซึ่งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนน้ำมา
ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่าที่ผ่านมา ประมาณ 50
กิโลเมตร หากรอยเลื่อนแม่จันเกิดแผ่นดินไหว จะกระทบต่อจังหวัดภาคเหนือ
โดยเฉพาะเชียงใหม่ เชียงราย
ส่วนความรุนแรงขึ้นอยู่กับความตื้นลึกของแรงสั่นสะเทือนในแผ่นดิน นอกจากนี้
ยังต้องจับตารอยเลื่อนศรีสวัสด์ จ.กาญจนบุรี และรอยเลื่อนปัว จ.น่าน
ทั้งนี้
จากการดูภาพถ่ายดาวเทียมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พบว่ารอยเลื่อนดังกล่าว มีความคมชัด ไม่น่าไว้วางใจ
นายปัญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังได้พบรอยเลื่อนใหม่ คือ รอยเลื่อนนครนายก
ซึ่งมีความน่ากลัวและอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า
รอยเลื่อนนครนายก มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิง ที่พาดผ่าน จ.นครสวรรค์
กำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวดังกล่าวมีความยาว
50-100 กิโลเมตร โดยรอยเลื่อนแม่ปิง
เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2518
ขนาด 5.6 ริคเตอร์ ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ถ้ารอยเลื่อนนครนายก
เกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา จะกระทบกับภาคกลางทั้งหมด อาทิ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา
สระบุรี อุทัยธานี ลพบุรี เป็นต้น
โดยจะนำข้อมูลรอยเลื่อนนครนายกเสนอกระทรวงทรัพยากรฯ
เพื่อให้เข้าไปสำรวจและเพิ่มแนวรอยเลื่อนที่มีพลังของประเทศไทย เป็น 14
จุด จากเดิมมี 13 จุด ทั้งนี้ 13
รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย หากเกิดแผ่นดินไหว จะเกิดประมาณ 6 7
ริคเตอร์ และเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตเมื่อพันปีที่ผ่านมา
ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทย จะเกิดความเสียหายต่อระบบโครงสร้างสาธารณูปโภค
เช่น เจดีย์หัก โรงพยาบาลร้าว วัดเสียหาย อาคารร้าว ทั้งนี้
จะต้องเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลาพอสมควรหรือมีอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่อง
ทั้งนี้
13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย ครอบคลุม 22
จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ได้แก่ เชียงใหม่ 12
อำเภอ เชียงราย 11 อำเภอ แพร่ 7 อำเภอ
แม่ฮ่องสอน 5 อำเภอ กำแพงเพชร 3 อำเภอ
ตาก 7 อำเภอ น่าน 6 อำเภอ พะเยา
1 อำเภอ พิษณุโลก 2 อำเภอ ลำปาง 5
อำเภอ ลำพูน 3 อำเภอ อุตรดิถต์ 4 อำเภอ
กระบี่ 1 อำเภอ ชุมพร 4 อำเภอ พังงา
5 อำเภอ ระนอง 5 อำเภอ สุราษฎร์ธานี 9
อำเภอ กาญจนบุรี 7 อำเภอ ประจวบคีรีขันธ์ 4
อำเภอ สุพรรณบุรี 1 อำเภอ นครพนม 3
อำเภอ หนองคาย 2 อำเภอ รวม 106 อำเภอ
308 ตำบล และ 1,406 หมู่บ้าน
โดยจากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่า รอยเลื่อนนครนายก มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิง
ที่พาดผ่าน จ.นครสวรรค์ กำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้
โดยแนวดังกล่าวมีความยาว 50-100 กิโลเมตร ถ้ารอยเลื่อนนครนายก เกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา
จะกระทบกับภาคกลางทั้งหมด อาทิ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อุทัยธานี ลพบุรี
เป็นต้น
ทั้งนี้จะนำข้อมูลรอยเลื่อนดังกล่าว เสนอกระทรวงทรัพยากรฯ
เพื่อให้เข้าไปสำรวจและเพิ่มแนวรอยเลื่อนที่มีพลังของประเทศไทย เป็น 14 จุด
จากเดิมมี 13 จุด

13 รอยเลื่อนแผ่นดินไหวในไทย
1.
รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุม พื้นที่ จ.เชียงราย และเชียงใหม่ 2. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก 3. รอยเลื่อนเมย ครอบคลุม จ.ตาก และกำแพงเพชร 4. รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม จ.เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย 5. รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่ 6. รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุม จ. ลำปาง เชียงราย และพะเยา 7. รอยเลื่อนปัว ครอบคลุม จ.น่าน 8. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์ 9. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี 10. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และอุทัยธานี 11. รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุม จ.หนองคาย และนครพนม 12. รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา 13. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
 |
ติดต่อขอคำปรึกษาฟรี โทร. 063
154 7895
, 084
644 6655
, 097
228 9653 |
กลับขึ้นด้านบน |

|
กลับหน้า
เรื่องที่ควรรู้ |

|
|